ข้อพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) (Criteria)


·  การคำนวณขนาดทำความเย็น (Cooling capacity หรือ BTU) ควร เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม เพราะการซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะส่งผลให้ห้องมีความเย็น มากเกินไปทำให้เครื่องต้องเดิน-หยุดบ่อย นอกจากนี้ราคาเครื่องและ ค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้เครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลง

ดังนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) ที่มีความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง
·  ลักษณะการใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยดูประเภทของห้องว่าเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทำงาน ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ
·  รูปแบบ (ตั้ง-แขวน, ติดผนัง, ตู้ตั้ง, ฝังเพดาน) เลือกรูปแบบของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง และความสะดวกในการดูแลรักษา (Maintenance) โดยสามารถศึกษาข้อดี-ข้อเสียที่

ประเภทของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) 
·  วัตถุดิบที่ใช้ (Material) เนื่องจากคุณภาพของวัตถุดิบ มีผลต่อโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความคงทนของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  อีกทั้งในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ จึงไม่เป็นการง่ายที่จะตัดสินใจซื้อได้ทันที ดังนั้นเราจึงควรศึกษาส่วนประกอบที่สำคัญ เพื่อช่วยในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) 

  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ที่นิยมใช้กันอยู่ 3 ประเภทคือ

    1. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary compressor) ทำงานโดยการหมุนของใบ พัดความเร็วสูง โดยมีคุณสมบัติคือ การสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบ และมีประสิทธิภาพพลังงานสูง (EER) เหมาะกับ เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดเล็ก

      ภาพจาก Siam Compressor Industry (SCI)

    1. คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating compressor) ทำงานโดยการใช้ กระบอกสูบในการอัดน้ำยา โดยมีคุณสมบัติคือ ให้กำลังสูง แต่มีการสั่นสะเทือนสูง และมีเสียงดัง เหมาะกับเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดใหญ่

    1. คอมเพรสเซอร์แบบสโกรว (Scroll compressor) พัฒนามาจาก คอมเพรสเซอร์โรตารี่ ทำงานโดยใบพัดรูปก้นหอย โดยมีคุณสมบัติคือ มีการสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบ และมีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่าคอมเพรสเซอร์แบบอื่นๆในระดับเดียวกัน


      ภาพจาก Copeland Corporation
  • คอยล์ (Coil) ประกอบด้วยท่อทองแดง และครีบอะลูมิเนียม (Fin) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการระบายและดูดซับความร้อน จากอากาศ ( แอร์ )  ดังนั้น ผู้ซื้อจึงควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ทำคอยล์ เช่นความหนาของครีบ หรือการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากคอยล์ที่มีสภาพดีย่อมระบายความร้อนได้ดี

    ดังนั้นคอยล์ที่ทนทานจึงสามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  แถมยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

  • มอเตอร์พัดลม (Fan motor) เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการช่วยระบาย และดูดซับความร้อน มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) มีอยู่หลายเกรด ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรสอบถามข้อมูลของมอเตอร์เพื่อประกอบการตัดสินใจ มอเตอร์ที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง จึงจะทำให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยที่รอบ (rpm) ไม่ตกซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อน และไม่เสียง่ายเนื่องจากความร้อนสูง

·  ระบบฟอกอากาศ ( แอร์ )  (Air Purifier) ในปัจจุบันผู้ผลิตนิยมติดตั้งระบบฟอกอากาศ ( แอร์ ) ไว้ในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  เพื่อช่วยทำให้อากาศ ( แอร์ ) ภายในห้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ มากขึ้น ซึ่งระบบฟอกอากาศ ( แอร์ ) ที่ติดตั้งมาพร้อมเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) มีอยู่ด้วยกันหลายระบบ ดังนี้

  1. การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศ ( แอร์ ) ในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเส้นใย โดยที่สิ่งสกปรกจะติดค้างอยู่ที่ไส้กรอง และต้องทำการเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตัวอย่างของระบบนี้ก็คือ HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งเป็นการกรองอากาศ ( แอร์ ) ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.05 ไมครอน
    ในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่นในอากาศ ( แอร์ )  จะนิยมใช้แผ่นคาร์บอน (Activated carbon filters) เพื่อดูดซับกลิ่นเช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหารเป็นต้น


  1. การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric grids) ในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาค โดยการเพิ่มประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคฝุ่นละออง และใช้แผ่นโลหะอีกชุดหนึ่งซึ่งเรียงขนานกันดูดอนุภาคฝุ่นละอองไว้ โดยที่หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาดแผ่นโลหะ

  1. การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) เป็นการใช้เครื่องผลิตประจุไฟฟ้า และปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็นเพื่อดูดจับอนุภาคฝุ่นละออง และกลิ่น โดยประจุลบที่ปล่อยออกมาจะทำการดูดจับอนุภาคฝุ่นละอองและกลิ่น ซึ่งมีโครงสร้างเป็นประจุบวก จนกระทั่งกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น และตกลงสู่พื้นห้อง โดยกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นจะถูกกำจัดไปพร้อมกับการทำความสะอาดพื้นห้องตามปกติ ดังนั้นระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดเพราะไม่มีการดักจับโดยใช้ แผ่นกรอง แต่เป็นการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี



    ประจุลบ = ผลิตจากระบบฟอกอากาศ ( แอร์ )
    ประจุบวก = ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน เชื้อโรค


·  การประหยัดไฟฟ้า (Energy Saving) ในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) เบอร์ 5 วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เพื่อตอบสนองนโยบายการประหยัดการพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) เบอร์ 5 จะมีประสิทธิภาพพลังงาน (EER - Energy Efficiency Ratio) สูงกว่า และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ธรรมดา ดังนั้นผู้ซื้อจึงควร เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กับค่าไฟฟ้าในระยะยาวโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่น ส่วนต่างราคา จำนวนปีที่จะใช้งาน จำนวนชั่วโมงที่จะใช้งานต่อวัน เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘