ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วัดบูรพาราม
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์



๐ ชีวิตในปฐมวัย

หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้น พระยาสุรินทร์ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเมืองอุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของ ท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล “ดีมาก” แต่สาเหตุที่ท่านนามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่งชื่อพร้อมไปอยู่ด้วย ท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า “เกษมสินธุ์” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” ไปด้วย

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง
คนที่ ๒ เป็นชาย ชื่อ ดูลย์ (คือตัวท่าน)
คนที่ ๓ เป็นชาย ชื่อ แดน
คนที่ ๔ เป็นหญิง ชื่อ รัตน์
คนที่ ๕ เป็นหญิง ชื่อ ทอง

พี่น้อง ของท่านต่างพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพเท่าวัยชราและถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมา ถึงอายุ ๗๐ ปีทั้งหมด หลวงปู่ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง ๙๖ ปี

ชีวิต ของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกกำหนดให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมในสมัยนั้น แม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดาโดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอก บ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น ช่วยแบ่งเบาภาระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือสวนไร่นาและเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น

บรรดาเด็กรุ่นเดียวกันในละแวกบ้านนั้น ท่านเป็นผู้ได้เปรียบในเรื่องรูปสมบัติ คือ นอกจากจะมีร่างกายแข็งแรง มีอนามัยดีแล้ว ยังมีผิวพรรณหมดจด รูปร่างได้สัดส่วน น่ารักน่าเอ็นดู และยังมีอุปนิสัยเยือกเย็นอ่อนโยน ความประพฤติเรียบร้อยมาแต่เยาว์ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาญาติพี่น้องและผู้ที่ได้พบเห็นโดยทั่วไป

ด้วย เหตุที่ท่านมีรูปร่างงดงามดังกล่าวแล้วนี่เอง ท่านเจ้าเมืองสุรินทร์สมัยนั้น จึงมีบัญชาให้นำตัวท่านมาร่วมแสดงละครนอก โดยมีคุณตาจินต์เป็นพระเอก ส่วนท่านเป็นนางเอก

สำหรับเรื่องราว ชีวิตในอดีตนั้น นานแสนนานกว่าท่านจะเล่าให้ฟังสักครั้งหนึ่ง เมื่อมีโอกาสดีเวลาว่าง ท่านก็เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ ลำดับถึงบุคคลสำคัญๆ ตลอดจนถึงเครือญาติในสมัยนั้น

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ผู้ชักชวนให้คุณตาของท่านตั้งบ้านเรือนเป็น “บ้านปราสาท” ขึ้นมาได้ถึงแก่อนิจกรรม กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ ทรงแต่งตั้งพระพิไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชายพระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งแทนเป็นเจ้าเมืองลำดับที่ ๖

ตอนที่หลวงปู่อายุประมาณ ๖ ขวบ ในช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ตื่นเต้นสำคัญ คือ เกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายมือของแม่น้ำโขงกับฝรั่งเศสเรียกว่า “เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒” ชายฉกรรจ์ลูกสุรินทร์ ๘๐๐ คน เข้ารับการฝึกหัดในกองกำลังรบและถูกส่งไปตรึงแนวรบด้านอุบลฯ ร่วมกับกองกำลังจากเมืองอื่นๆ เพื่อต่อต้านการรุกรานของฝรั่งเศส แต่แล้วหลังจากการปะทะกันเพียงเล็กน้อย ก็ตกลงทำสัญญาสงบศึกกัน หลังจากเสร็จกรณีพิพาทไม่นาน พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุรินทร์ ภักดีศรีผไทสมันต์ ตามตำแหน่งเจ้าเมือง

กรมหลวงพิชิตปรีชากรจึงทรง แต่งตั้งพระพิไชยนครบวรวุฒิ (จรัญ) หลานปู่ ของพระยาสุรินทร์ฯ (ตี) เจ้าเมืองคนที่ ๒ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ลำดับที่ ๗ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองคนนี้ถึงแก่กรรมเมื่อหลวงปู่มีอายุประมาณ ๑๓ - ๑๔ ปี กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ต่อจากนี้ พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองลำดับที่ ๘ เป็นที่พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์ตามตำแหน่งด้วย เจ้าเมืองคนนี้แหละที่มีบัญชาให้นำตัวท่านมาเล่นละคร

ท่านเล่าย้อน ถึงชีวิตของท่านเมื่อครั้งยังเป็นนางเอกละคร แล้วบอกว่าสมัยนั้นคนนิยมดูละครกันมาก ถามท่านว่า แสดงกันได้ดีนักหรือจึงมีคนนิยมดูมาก ท่านบอกว่า สมัยนั้นมีธรรมเนียมอยู่ว่าถ้าเป็นละครของเจ้าเมืองในหัวเอง ต้องเอาผู้ชายแสดงทั้งหมด โดยสมมุติเป็นพระเป็นนางเอา ถ้าเป็นละครหลวงหรือละครของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้แสดงต้องเป็นผู้หญิงล้วน สมมุติเป็นพระเป็นนางเอาเหมือนกัน เรื่องที่ท่านเคยแสดงก็มีเรื่องไชยเชษฐ์ เรื่องลักษณวงษ์ เรื่องจันทรกุมาร เป็นต้น จำได้ชื่อหนึ่งว่า ท่านเคยแสดงเป็นนางชื่อ นางรัมภา ไม่ทราบว่ามีอยู่ในวรรณคดีเรื่องใดหรือไม่ ระหว่างที่แสดงละครเหล่านั้นท่านมีโอกาสได้เล่าเรียนเขียนอ่านหนังสือไทย บ้าง จากท่านผู้รู้ช่วยสอนให้ เพราะยังไม่มีโรงเรียนสอนหนังสือไทยในขณะนั้น

ท่านเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ อายุประมาณ ๑๘ ปี ได้ลงไปกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เพื่อไปซื้อเครื่องแต่งละครนั่นเอง เพราะเป็นตัวนางเอก ต้องมาลองเครื่องแต่งละครนั่นเอง เพราะเป็นตัวนางเอก ต้องมาลองเครื่องเลือกให้ได้เหมาะเจาะสมตัวเดินทางโดยขี่ช้างจากสุรินทร์ใช้ เวลา ๔ วัน ๔ คืน จึงถึงเมืองโคราช พักช้างไว้ที่นั้นแล้วขึ้นรถไฟต่อเข้ากรุงเทพฯ เนื่องจากขณะนั้น รถไฟมีแค่ระยะกรุงเทพฯ – โคราช เท่านั้น

เมื่อลงจากรถไฟที่สถานี หัวลำโพงแล้วเห็นกรุงเทพฯ สมัยนั้นไม่ได้มีตึกรามบ้านช่องผู้คนมากมายอะไร จะไปไหนมาไหนเมื่อปวดท้องหนักท้องเบา ก็สามารถแวะเข้าป่าสะแกสาบเสือข้างทางได้อย่างสบาย น้ำท่าแต่ละลำคลองก็ใสสะอาดดี อาบดื่มได้อย่างสนิทใจ เมื่อกลับถึงสุรินทร์แล้วก็ให้รู้สึกกระหยิ่มว่ามีบุญวาสนามิใช่น้อยที่ได้ ไปถึงและได้เห็นบางกอกด้วยสายตา เพราะในสมัยนั้นน้อยคนนักที่จะได้เห็นกรุงเทพฯ

คนสมัยโน้นกับคน สมัยนี้ ไม่มีอะไรแตกต่างกันนักในเรื่องการคลั่งดารา หรือชอบสนิทสนมกับนักแสดง นี้เป็นข้อสรุปที่ได้มาจากเรื่องที่หลวงปู่เล่าให้ฟังขำๆ ว่า ครั้งหนึ่งหลังจากที่คณะละครของท่านเลิกหรือจบการแสดงแล้ว มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งพรวดพราดเข้ามาในห้องทำท่าตีสนิท คงคิดจะทอดไมตรีผูกเป็นมิตรสหายกัน ซึ่งแค่นี้ก็นับว่าแก่นกล้ามิใช่น้อย เมื่อคิดถึงสภาพสังคมสมัยนั้น

ขณะนั้นท่านนางเกละครกำลังค่อยๆ ถอดเครื่องทรงอลงกรณ์ออกทีละชิ้นสองชิ้น ทั้งแท้และเทียม สุภาพสตรีท่านนั้นเมื่อทราบว่าท่านเป็นชาย ก็อายมาก รีบกระโดดลงจากเวที วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็วเหมือนกระต่ายป่า นี้แสดงว่าหลวงปู่ของเราเป็นนักแสดงชั้นเยี่ยมจริงๆ เมื่อแสดงเป็นตัวนางเอก ผู้หญิงแท้ๆ ก็ยังหลงนึกว่าเป็นผู้หญิงจริงๆ

แม้ นี้มีส่วนชี้ให้เห็นว่า เด็กหนุ่มสาวสมัยนั้นเขามีจิตสำนึกในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดความ เสื่อมเสีย และระวังในเรื่องระหว่างเพศเป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดความมัวหมองในชีวิตหนุ่มสาวของตนมิฉะนั้นจะต้องถูกดูหมิ่น เหยียดหยามจากสายตาของสังคม หลวงปู่ท่านกล่าวว่า ชีวิตวัยหนุ่มของท่านตลอด ๒๒ ปี บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เคยพ้องพานแตะต้องสตรีเพศเลยแม้แต่น้อย ตราบเท่าเข้าสู่เพศพรหมจรรย์ ดำรงชีพอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์รวดเดียวตลอดสาย


๐ ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

แม้ ว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้วยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีก ด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ก็มิได้หลงใหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวช จึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านนั้นคัดค้านเรื่อยมา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดาไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโต

แต่ ในทีสุด บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ตามปรารถนาที่แน่วแน่ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับเสียงสำทับจากบิดาว่า เมื่อบวชแล้วต้องไม่สึกหรืออย่างน้อยต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้เนื่องจากปู่ของท่านเคยบวชและได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว และคงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยกระมังท่านจึงมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางบรรพชา ตั้งแต่ยังเยาว์ คือมีอุปนิสัย รักบุญ เกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองในวัยหนุ่มเหมือนบุคคลอื่น

ครั้นเมื่อได้ รับอนุญาตจากมารดาเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยย่างเข้าสู่ความเป็นสรณะตั้งแต่กาลนั้น เมื่อท่านมีอายุได้ ๒๒ ปี โดยมีพวกตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่านเป็นผู้แจ้งในเรื่องการบวชให้คบ ถ้วนทุกอย่าง ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์ โดยมี

พระครุวิมลศีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุวสาวนาจารย์

๐ นวกภิกษุผู้กระหายธรรม

เมื่อครั้งแรกบวช ก็ได้ไปปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อเอก วัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ วิธีการเจริญกัมมัฏฐานในสมัยนั้นก็ไม่มีวิธีอะไรมาหกมายนัก วิชาที่หลวงพ่อแอกสอนในสมัยนั้น คือ จุดเทียนขึ้นมา ๕ เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า “ขออัญเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา” ดังนี้เท่านั้น แต่หลวงปู่ดูลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเรื่อยมาจนครบไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย

นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนทรมาน ร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลส ด้วยความเข้มงวดกวดขันการขบฉันอาหาร วันก่อนเคยฉัน ๗ คำ ก็ลดเหลือ ๖ คำ แล้วลดลงไปอีกตามลำดับ จนกระทั่งร่างกายซูบผอม โซเซ สู้ไม่ไหว จึงหันมาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไม่ท้อถอย สู้บำเพ็ญภาวนาไปเรื่อยๆ ตามที่ท่านอาจารย์อบรมสั่งสอน

นอกจากนี้ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่น เจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย เรื่องวินัยที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากายวาจา เพื่อเป็นรากฐานของสมาธิภาวนานั้น ท่านไม่ทราบ มิหนำซ้ำ ระหว่างที่อยู่วัดดังกล่าว พระในวัดนั้นยังใช้ให้ท่านสร้างเกวียนและเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความสลดสังเวชและเบื่อหน่ายเป็นกำลัง แต่ก้อยู่มาจนกระทั่งได้ ๖ พรรษา

เมื่อทราบข่าวว่า ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมก็เกิดความยินดีเป็น ล้นพ้น รีบเข้าไปขออนุญาตท่านพระครูวิมลศีลพรต ผู้อุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้ไปได้โดยมีครูคงและครูดิษฐ์ไปเป็นเพื่อน


๐ นักธรรมชั้นตรี

เมื่อ ครั้งแรกถึงจังหวัดอุบลฯ นั้น เขาไม่อาจรับท่านให้พำนักอยู่ที่วัดธรรมยุตได้ เพราะต่างนิกายกัน แม้จะอนุมัติให้เข้าเรียนได้ก็ตาม ดังนั้น ท่านจึงต้องไปอยู่วัดหลวง ซึ่งการบิณฑบาตเป็นไปได้ยากเสียเหลือเกิน พอดีหลวงพี่มนัสซึ่งเดินทางไปเรียนก่อน ได้แวะไปเยี่ยมทราบความเข้า จึงพาท่านไปฝากอยู่อาศัยพร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรมไปด้วย ที่วัดสุทัศนาราม แต่เนื่องจากวัดนี้ก็เป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุต จึงไม่อาจให้ท่านอยู่ที่วัดได้ด้วยเหตุผลที่น่าฟังว่ามิได้รังเกียจ แต่เกรงจะเกิดผลกระทบต่อความเข้าใจอันดีระหว่างผู้บริหารการคณะสงฆ์ของนิกาย ทั้งสอง

อย่างไรก็ดี ด้วยเมตตาธรรม ทางวัดสุทัศนารามได้แสดงความเอื้อเฟื้อด้วยวิธีการอันแยบคาย โดยรับให้ท่านพำนักอยู่ได้ในฐานะพระอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยือน แต่อยู่นานหน่อย ความเป็นอยู่ของท่านจึงค่อยกรระเตื้องขึ้น คือเป็นไปได้สะดวกบ้าง

ท่านพยายามมุมานะ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีนวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ นับว่าท่านได้บรรลุปณิธานที่ได้ตั้งไว้ในหารจากบ้านเกิดเมืองนอนไปศึกษาต่อ ณ ต่างแดน ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะการคมนาคมระหว่างสุรินทร์ – อุบลฯในสมัยนั้นเป็นไปโดยยากจนนับได้ว่าเป็นต่างแดนจริงๆ



๐ ญัตติใหม่

ต่อมาท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจาก นิกายเดิมมาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยเฉพาะพระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระนักบริหารผู้สายตาไกลและจิตใจกว้างขวางได้ให้ความเห็นว่า “อยากจะให้ท่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อนไม่ต้องญัตติเนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุต มีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่จังหวัดสุรินทร์ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่วัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย”

แต่ตามความตั้งใจของท่านเองนั้น มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรม จึงได้พยายามขอญัตติต่อไปอีก

ต่อ มา ซึ่งจะนับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งรับราชการครู ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดูลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่านมนการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ

ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ขณะเมื่ออายุ ๓๑ ปี ท่านจึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมา วัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี

พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ถ้า หากจะนับระยะเวลาที่ท่านไปวัดสุทัศน์ ในฐานะพระอาคันตุกะจนกระทั่งได้รับเมตตาอนุญาตให้ได้ญัตติ ก็เป็นเวลานานถึง ๔ รวมเวลาที่ดำรงอยู่ในภาวะของนิกายเดิมก็เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี

๐ พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ครั้งแรก

จากการที่ได้ศึกษา เล่าเรียนพระปริยัติธรรม และพิจารณาข้อธรรมมะเหล่านั้น จนแตกฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้นเป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะ ได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ได้ผลและได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่อง หนึ่งต่างหาก จึงได้บังเกิดความเบื่อหน่ายและท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรม และมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรมทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่

นับ ว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดูลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเอง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ฝ่ายอรัญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดบูรพานั้น เลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้พระภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์และประชาชน แตกตื่นฟื้นตัว พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น

ท่านกับท่าน อาจารย์สิงห์ ๒ สหาย ก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อนในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวางแล้วยังไม่มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของ ท่านพระอาจารย์มั่นที่งดงามน่าเลื่อมใสทุกอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจ คำพูดแต่ละคำมีนัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีๆ


๐ ออกธุดงค์ครั้งแรก

ครั้น ออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ ๒ สหาย คืออาจารย์ ขนฺตยาคโม กับหลวงปู่ดูลย์ จึงตัดสินใจสละทิ้งการสอนการเรียนออกเดินธุดงค์ติดตามพระปราจารย์ผู้ ยิ่งใหญ่ไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น

ตามธรรมเนียมธุดงค์ กัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่าเมื่อครั้นถึงกาลเข้าพรรษา ไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคลแต่ละคณะ

เมื่อออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใด ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทางมุ่งไปยัง ณ ที่นั้น เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐาน และเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิดท่านปรมาจารย์จักได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้วท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป

ดังนั้น เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงปู่ดูลย์จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมุติทำเป็นสำนักวัดป่าเข้าพรรษาด้วยกัน ๕ รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านพระอาจารย์บุญ พระอาจารย์สีทา ท่านพระอาจารย์หนู ท่านพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล (คือตัวหลวงปู่เอง)

ทุกท่านปฏิบัติตน ปรารภความความเพียรอย่างอุกฤษฏ์แรงกล้าปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่าน ปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้นบริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏ ว่าอาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มี ความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละเห็นแก่หน้ากันบ้างเลย จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมมิกอย่างน่าเวทนา

สำหรับท่านหลวงปู่ดูลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตักเตือนตนว่า “ถึงอย่างไรตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตาย ในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด” จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตายตั้งสติให้สมบูรณ์ พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอิริยาบถพร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มีมรณานุสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วยโดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่ กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย


๐ เริ่มปรากฏผลจากการปฏิบัติ

ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดูลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบ และให้บังเกิดนิมิตแปลกกว่าผู้อื่นขึ้นมา คือ เห็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่านประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูป องค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณาดูรูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิแล้ว และขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่าเพื่อบิณฑบาต ก็เห็นปรากฏอยู่เช่นนั้น

วัน ต่อมาอีก ก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดเจนว่า เป็นโครงกระดูกทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารจึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิ กระทำความเพียรต่อไป เช่นเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง ตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเอง แสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้งจนกระทั่งท่าน สามารถแยกจิตกับกิเลสออกจากกันได้

รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้ จนรู้ว่ากิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้

การปฏิบัติได้ผลเป็นประการใดในครั้ง นั้น ท่านมิได้เล่าบอกใครในพรรษานั้น เคยเล่าให้ท่านอาจารย์สิงห์ก็ชมว่าถูกทางแล้วและแสดงความยินดีด้วย ตัวท่านนึกอยากให้ออกพรรษาโดยเร็วจะได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่นและกราบเรียน ถึงกาปฏิบัติทั้งรับคำแนะนำทางปฏิบัติที่ยิ่งๆ ขึ้นไป


๐ คำสรรเสริญครั้งแรกจากพระอาจารย์มั่น

ครั้น ออกพรรษาแล้ว ทุกรูปต่างแยกย้ายกันออกจากที่นั้นเดินธุดงค์ต่อไป ท่านหลวงปู่ดูลย์ไปด้วยกันกับท่านอาจารย์สิงห์ ต่อมาก็แยกทางกับท่านอาจารย์สิงห์ คือไปองค์ละทาง มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือ ท่านพระอาจารย์มั่น

เมื่อท่านเดินทาง ไปถึงหนองหาน จังหวัดสกลนคร ได้ไปพักอยู่ที่เกาะเกด สถานที่นี้กล่าวกันว่าเป็นที่ขลังและมีอาถรรพณ์มากไม่เคยมีชาวบ้านไหนกล้า เข้าไป แต่ท่านกลับเห็นดี ท่านจะได้อยู่สบาย เพราะเมื่อคนไม่กล้าเข้าไป ก็ยิ่งเป็นที่สงัดเงียบ ครั้นอยู่พอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงบ้านตาลเนิ้ง มีชาวบ้านบอกว่า เห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าใกล้บ้านนี้เองท่านแสดงความดีใจเป็นอันมากคิดว่า อย่างไรเสียต้องเป็นพระอาจารย์มั่นอย่างแน่นอน

เมื่อไปถึงสถานที่ นั้น ก็เห็นท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งเดินทางมาถึงก่อนนานแล้ว และเห็นพระองค์อื่นๆ อีกหลายองค์กำลังนั่งห้อมล้อมท่านพระอาจารย์มั่นอย่างสงบ พากันหันหน้ามามองท่าน และพูดบอกกันเบาๆ ว่า “แนะ ท่านดูลย์มาแล้ว ท่านดูลย์มาแล้ว” คาดว่าอาจารย์สิงห์คงเล่าบอกแล้วว่า หลวงปู่ดูลย์ทำจิตเป็นสมาธิได้

เมื่อท่านเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความปลาบปลื้มปีติรำพึงในใจว่า “ประสงค์อย่างไรก็สำเร็จอย่างนั้น” ครั้นได้โอกาสอันควรแล้ว จึงได้เข้าไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น พระปรมาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษได้ถามถึงการปฏิบัติ ท่านจึงกราบเรียนถึงผลการปฏิบัติโดยตลอด แล้วก็สรุปท้ายกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นให้ทราบว่า

“เดี๋ยวนี้ กระผมเข้าใจแล้ว กระผมทำความรู้จักกับกิเลสของกระผมได้ดีแล้ว คือ ถ้ารวมกันทั้งหมดแล้ว แบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ นั้นกระผมละได้เด็ดขาดแล้ว ส่วนที่ ๒ นั้นกระผมละได้ครึ่งหนึ่งยังอีกครึ่งหนึ่ง ส่วนที่ ๓ และส่วนที่ ๔ กระผมยังละไม่ได้”

ท่านพระอาจารย์มั่นก็กล่าวคำสรรเสริญว่า “เก่งมาก ฉลาดมาก ที่สามารถรู้จักกิเลสของตนเอง และการปฏิบัติที่ผ่านมา ที่เล่าบอกนั้นก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว” และแล้วท่านพระปรมาจารย์ก็ได้แนะนำต่อไปว่า ให้เอาข้อนี้ไปพิจารณาต่อไปอีก โดยบอกเป็นภาษาบาลี “สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา”

หลังจากได้ รับคำแนะนำจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ได้ปลีกตัวไปบำเพ็ญทางจิต พร้อมทั้งพิจารณาคติธรรมที่ได้มาในที่สุดก็ได้รู้แจ้งในธรรม คือปฏิจจสมุปบาท ตลอดสายในแวบเดียวเท่านั้น สังขารทั้งหลายเกิดจากความคิดปรุง เมื่อละสังขารได้ความทุกข์ก็ดับหมดตลอดสาย ปฏิจจสมุปบาทก็ขาดเพียงเท่านี้

ครั้น พากันอยู่ปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่นพอสมควรแล้ว ทุกรูปก็แยกย้ายเดินธุดงค์กันต่อไปอีก เมื่อแยกจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้วหลวงปู่ดูลย์ได้เดินไปทางอำเภอพรรณนานิคม มีเณรติดตามไปด้วยองค์หนึ่ง ไปจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่งใกล้บ้านกุดด้อม ครั้นจำพรรษาอยู่ได้ไม่นาน สามเณรที่ติดตามไปด้วยก็เกิดเป็นไข้อย่างแรงสุดกำลังที่จะเยียวยารักษาให้ หายได้ ในที่สุดสามเณรก็ถึงกางกิริยาต่อหน้าต่อตาท่านไปอีกองค์หนึ่งอย่างน่าเวทนา

ท่านเล่าว่า “สงสารสามเณรมาก อายุก็ยังน้อย หากมียารักษาเณรคงไม่ตายแน่” ครั้งนั้นท่านได้คอยสังเกตพิจารณาอาการตายของคนเราว่าเป็นไปอย่างไร จิตหรือวิญญาณออกไปทางงไหนหรืออย่างงไรจนเข้าใจได้ดี แต่ไม่เห็นสมควรที่จะบันทึกไว้ ณ ที่นี้

เมื่อชาวบ้านเห็นว่าท่าน จำพรรษาอยู่เพียงองค์เดียว เพราะเมื่อก่อนอยู่กับสามเณรก็เกิดความสังเวชใจ จึงได้อาราธนาท่านให้ไอยู่ที่วัดม่วงไข่ บ้านกุดก้อม ซึ่งมีสามเณรอยู่หลายองค์ มีครูบาญาคูดีเป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดีสมชื่อ ท่านได้เข้าไปพำนักจำพรรษาแต่รูปเดียวในโบสถ์ กระทำตามแบบฉบับของพระธุดงค์ทุกอย่างอย่างเคร่งครัด เช่น เดินบิณฑบาตทุกวัน ฉันในบาตรฉันวันละมื้อเดียว ปัดกวาดทำความสะอาดทีอยู่อาศัย ตลอดเวลาจนเดินจงกรมทำสมาธิ เป็นต้น

เจ้าอาวาส และพระเณรในวัดนั้นเห็นปฏิปทาของท่าน ก็เกิดความพิศวงสนใจในการปฏิบัติของท่านเป็นอันมาก และเมื่อมีใครสนใจไต่ถาม ท่านก็ชี้แจงข้อธรรมะและแนวทางปฏิบัติได้อย่างชัดเจนมีอรรถลึกซึ้งรัดกุม แปลกไปกว่าที่เคยได้ยินได้ฟังมา ดังนั้น พระทุกรูปรวมทั้งสามเณรด้วยต่างก็ปฏิญาณตนปฏิบัติตนตามแบบของท่านจนหมด

ใน บรรดาภิกษุสามเณรที่หันกลับมาดำเนินปฏิปทาแบบธุดงค์กัมมัฏฐานของท่านนี้ มีสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อสามเณรอ่อน มีวิริยะอุตสาหะแรงกล้าในธรรมปฏิบัติ ได้เจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาสืบต่อมาจนเป็นพระมหาเถระชื่อก้อง มีผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ ซึ่งก็คือพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ นั่นเอง

ใน ระหว่างนั้น ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้มีประวัติอันงาม มีชื่อเสียงโงดังทางกัมมัฏฐานในปัจจุบันนี้ ในสมัยนั้นยังเป็นพระภิกษุฝั้น พำนักอยู่ที่วัดใกล้เคียงกัน ได้ทราบข่าวคราวการ “พลิกแผ่นดิน” ของวัดไข่ม่วง ก็เกิดความตื่นเต้นสนใจ สู้เดินทางมาศึกษาและประพฤติปฏิบัติกัมมัฏฐานกับท่านหลวงปู่เป็นประจำอย่าง ขยันแข็งตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น

ครั้นออกพรรษาแล้ว ได้เวลาที่หลวงปู่ดูลย์จะออกธุดงค์ร่อนแร่ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกแล้ว มหัศจรรย์อันใหญ่ก็ได้บังเกิดขึ้นต่อสายตาชาวบ้านม่วงไข่ทั้งหลาย กล่าวคือ เมื่อท่านหลวงปู่ออกธุดงค์ต่อไป ปรากฏว่าภิกษุสามเณรทุกรูปในวัดม่วงไข่ ไม่เว้นกระทั่งเจ้าอาวาสได้พากันสละทิ้งวัดออกธุดงค์ติตามท่านไปจนหมดสิ้น โดยไม่สนใจนำพาคำอ้อนวอนทัดทานของผู้ใด รวมทั้งพระภิกษุฝั้นก็ติดตามท่านไปด้วยเช่นเดียวกัน

ทุกรูปยอมสละ ทิ้งวัดร้างไป ไม่มีใครยอมอยู่ผูกพันดูแลพากันย่างเข้าสู่ความเป็นอนาคาริกที่แท้จริง เพื่อมุ่งหาความดับทุกข์แห่งตน อย่างไม่อาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งหนึ่งประการใดเลย

หลวงปู่เล่าว่า ท่านอาจารย์ฝั้นนั้น ทำกัมมัฏฐานได้ผลดีมากและเอาจริงเอาจัง มีน้ำใจเป็นนักสู้ สู้ตายไม่มีลดละท้อถอย เข้าถึงผลการปฏิบัติได้เร็ว นอกจากนั้นยังมีรูปสมบัติและคุณสมบัติถึงพร้อม ท่านได้ทำนายไว้ในใจว่า ท่านผู้นี้จะต้องมีความสำคัญและเป็นกำลังยิ่งใหญ่ของพระศาสนาในอนาคตอย่าง แน่นอน ท่านจึงตั้งใจว่าจะพาท่านอาจารย์ฟั่นให้ได้ในโอกาสต่อไป

อีก ข้อหนึ่งที่ผู้เรียบเรียงเคยได้ยินมามีอยู่ว่า เมื่อหลวงปู่ดูลย์มาพำนักประจำที่จังหวัดสุรินทร์แล้ว ท่านอาจารย์ฝั้นได้เดินธุดงค์ติดตามมารับคำแนะนำทางปฏิบัติกับหลวงปู่ดูลย์ เป็นครั้งคราวโดยเดินธุดงค์มาทางเทือกเขาดงรักแล้วเข้าไปนมัสการหลวงปู่ดู ลย์ ณ วัดบูรพาราม

บริเวณป่าที่ท่านอาจารย์ฝั้นพำนักนั้น ต่อมาได้กลายเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ แต่คงจะด้วยเดชะบารมีสุปฏิบัติของท่านอาจารย์ฝั้น สถานที่พักของท่านจึงได้รับยกย่องขึ้นมาเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มีชื่อว่า “วัดป่าโยธาประสิทธิ์” ทั้งๆ ที่อยู่ในบริเวณรั้วมหาวิทยาเกษตรกรรมนั้นเอง น่าอัศจรรย์ !

๐ อริยสัจจะแห่งชีวิต

ย้อนกลับมาถึงการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ดู ลย์ต่อไป การออกธุดงค์คราวนี้ มีท่านอาจารย์ฝั้นและพระเณรวัดม่วงไข่ติดตามไปทั้งหมด ท่านเดินทางไปตามลำดับพักอยู่แห่งละ ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง แล้วก็ไปพักอยู่ที่ถ้ำพระเวสฯ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็นเวลานานตลอดฤดูแล้งนั้น ต่างองค์ก็ปรารภความเพียรอย่างจริงจัง และได้รับผลการปฏิบัติทุกรูป

สำหรับหลวงปู่นั้น ท่านเล่าว่า ได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า “สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา” ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เกิดความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้งเมื่อความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร และจับใจความอริยสัจจะแห่งจิตได้ว่า

๑. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย
๒. ผลเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์
๓. จิตเห็นอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
๔. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

แล้ว ท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง ๔ ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท (ข้อธรรมของท่านตอนนี้ ผู้เขียนจนด้วยเกล้า ไม่อาจเขียนตามท่านให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการเฉพาะตัวของท่าน นักปฏิบัติธรรมผู้มีความสนใจ จะได้รับทราบในขั้นต่อไป)


๐ คำสรรเสริญครั้งที่ ๒ และรางวัลเกียรติยศ
จากพระอาจารย์มั่น

ครั้น อยู่ที่ถ้ำพระเวสฯ ได้พอสมควรแล้ว ก็พากันยกขบวนจาริกไปเสาะหาพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งพบที่วัดป่าโนนสูง หลวงปู่ดูลย์จึงกราบเรียนท่านปรามาจารย์ถึงผลการปฏิบัติธรรมของท่านตามที่ ปรากฏ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กล่าวรับรองและยกย่องสรรเสริญให้ปรากฏ ณ ท่ามกลางชุมนุมสานุศิษย์ทั้งหลาย “ถูกต้องดีแล้วเอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป”

หลังจากนั้น หลวงปู่ดูลย์ได้นำอาจารย์ฝั้นและคณะภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ที่ติดตามมาถวาย ตัวต่อพระอาจารย์มั่น ท่านปรมาจารย์จึงได้กล่าวยกย่องสรรเสริญกระทำให้ปรากฏต่อศิษย์ทั้งหลายว่า “ท่านดูลย์นี้ เป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก”

ใน ระหว่างที่พักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเวลานานนั้นท่านพระอาจารย์มั่น ผู้ทรงคุณธรรมยิ่งใหญ่ ได้กรุณาตัดเย็บไตรจีวรด้วยมือตน แล้วช่วยกันเย็บช่วยกันย้อมด้วยมือมอบให้หลวงปู่ดูลย์ ๑ ไตร ท่านจึงถือว่านี่คือผลหรือรางวัลแห่งการปฏิบัติดี ที่ครูบาอาจารย์มอบให้เป็นกรณีพอเศษด้วยเมตตาธรรม

ครั้นถึงเวลา เข้าพรรษา หลวงปู่ดูลย์ได้ไปจำพรรษาที่อำเภอทำบ่อ จังหวัดหนองคาย ขณะนั้นท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ยังเป็นสามเณรอยู่ ได้ติดตามมาอยู่จำพรรษากับท่านด้วย ในพรรษานั้นมีอุบาสิกอุบาสิกาและภิกษุสามเณรวัดใกล้เคียงพากันแตกตื่นมาฟัง ธรรมเทศนาของท่าน และมาบำเพ็ญภาวนาเป็นจำนวนมากมาย ท่านกล่าวว่าจนกระทั่งไม่มีที่นั่ง และแทบทุกคนก็ได้ผลทางปฏิบัติ สานุศิษย์ที่เป็นคฤหัสถ์บางท่านยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้


๐ มหัศจรรย์ที่ถ้ำผาบิ้ง

ครั้น ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ต่อไปที่จังหวัดเลยมีสามเณรติดตามมาไปด้วย ๑ รูป ท่านมีความประสงค์จะ-ปอยยู่ถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก มีชาวบ้านมาบอกทัดทานว่า “ที่ถ้านั้นพักไม่ได้เพราะมีสิ่งมหัศจรรย์ มีอรรพณ์แรงร้าย เมื่อถึงเวลาโพล้เพล้ จะมีเสียงพิณพาทย์ ระนาด ฆ้อง กลองบรรเลงกระหึ่ม และมองเห็นภาพคล้ายควันดำเหาะลอยพุ่งขึ้นสู่อากาศหายไป ไม่รู้ว่าตัวอะไร”

ตาม ปกติวิสัยของหลวงปู่ดูลย์ท่านไม่มีความเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่ยอมรับสิ่งมหัศจรรย์อภินิหารใดๆ ท่านจึงตัดสินใจเข้าไปอยู่ในถ้ำโดยไม่นำพาคำทัดทานของชาวบ้าน พร้อมกับสังเกตการดูว่าสิ่งที่ชาวบ้านร่ำลือกันนั้นเป็นขอเท็จจริงประการใด

ในที่สุดก็ได้ยิ้มแย้มต่อสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นนั้น กล่าวคือเมื่อถึงวลาจวนค่ำโพล้เพล้ลง ค้างคาวนับจำนวนแสนๆ ที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้น ก็พากันพรั่งพรูเกาะกลุ่มชิงกันออกมาจากปากถ้ำ เป็นคล้ายควันดำพุ่งพวยขึ้นสู่อากาศ บังเกิดเป็นกระแสลมกระโชกหวีดหวิวเมื่อพัดผ่านโตรกตรวนและร่องรูตามผนังถ้ำ ทำให้บังเกิดเป็นเสียงสูงต่ำมีลีลา เสียงปีกค้างคาวกระทบกันพึ่บพั่บแหวกอากาศ และเสียงสะท้อนตอบจากผนังถ้ำ ดังกระหึ่มกึกก้องไปมาราวกับว่าเป็นเสียงดนตรีสวรรค์ ที่เหล่าเทพยาดาพากันบรรเลงด้วยพิณพาทย์ ระนาด ฆ้อง กลอง ฉะนั้น กลุ่มค้างคาวเป็นแสนเป็นล้านที่บินพุ่งออกมาจากถ้ำเป็นเส้นสายไปมานั้นเล่า วิเศษในเทพนิยายปรัมปราที่เล่าสืบๆ กันมา พุ่งเลือนหายไปในอากาศ ประจักษ์ต่อสายตาคนบ้านป่า ที่ตะลึงมองอย่างขนลุกขนชันด้วยความหวาดหวั่นยำเกรง

ท่านจำนำความจริงมาเปิดเผย ความเชื่อถือดังกล่าวของชาวบ้านแถบนั้นจึงหมดสิ้นไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘