พระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (อังกฤษ: Buddhism, จีน: 佛教, บาลี: buddhasāsana, สันสกฤต: buddhaśāsana, ) เป็นศาสนาที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาอเทวนิยม คือสอนว่าไม่มีพระเจ้าผู้ สร้างโลกผู้ทำลายโลก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไป สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือมีแต่อำนาจที่เกิดจากการกระทำของตัวเองเท่านั้นที่เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถดลบันดาลชีวิตให้ดีขึ้นหรือเลวลงได้ไม่ต้องอ้อน ว้อนขอต่อพระเป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกตัว[1] คือให้พึ่งตนเอง[2] เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์[3] มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลก ด้วยวิธีการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์อันสูงสุดของศาสนา คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เช่นเดียวกับที่พระบรมศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียร ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ คนหนึ่งมิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าที่ไหน[4]

พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดียตอนเหนือและเนปาลในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชในไทยเริ่มนับ 1 ปีถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน พระพุทธศาสนาจัดเป็น 1 ใน 3 ศาสนาสากลหรือศาสนาโลก (หรือศาสนาที่เป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ) ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดคือประเทศจีน

หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา หรือพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก[5] และสิ่งที่ได้จากการรวบรวมคำสอนของพระองค์ของพระมหาเถระผู้เป็นพระสาวกของพระองค์เองในครั้งนั้น ได้กลายเป็นหลักสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนใดๆ และจากการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง แนวคิดที่เห็นต่างออกไป[6]ว่าธรรมวินัยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์[7] ได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง พระพุทธศาสนาในบางดินแดนก็ยังดำรงอยู่บางดินแดนก็เสื่อมไปผ่านกาลเวลาในประวัติศาสตร์ แต่หลักคำสอนดั้งเดิม (เถรวาท) และคำสอนของมหายาน ยังคงได้รับการรักษาและมีผู้นับถือมาโดยตลอด

ปัจจุบันพระพุทธศาสนาได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก หากนับจำนวนรวมกันแล้วอาจมากกว่า 500 ล้านคน[8][9][10][11]

องค์ประกอบของพุทธศาสนา

  • สิ่งเคารพสูงสุด สรณะ (ที่พึ่ง) อันประเสริฐของพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้ "พระธรรม" แล้วทรงสั่งสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกด้วยการบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตยเพื่อศึกษาพระธรรม (คันถธุระ) และฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น (วิปัสสนาธุระ) เรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์ แปลว่าหมู่, ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกทั้งปวง

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

พระวินัยปิฎก
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
พระสุตตันตปิฎก
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
พระอภิธรรมปิฎก
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์

  • ศาสดา คือ พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในดินแดนที่เรียกว่า ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในลุมพินีวัน จากการประสูติของพระโพธิสัตว์ที่มีพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ดำรงตำแหน่งศากยมกุฏราชกุมาร ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นศากยะ[12] และด้วยความพรั่งพร้อมด้วยสมบัติอันอำนวยสุขที่ไม่ยั่งยืน เจ้าชายผู้ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืนแท้จริงจึงได้สละจากสมบัติและบัลลังก์ แห่งอนาคตพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ตามคำทำนาย[12] ออกผนวชเป็นนักบวชด้วยพระองค์เอง[13] เพื่อแสวงหาโมกษะ หรือความหลุดพ้นจากความทุกข์[14] เพื่อความสุขอันเป็นนิรันดร์เมื่ออายุได้ 29 พรรษา จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ[15] คือ การตรัสรู้อันทำให้ทรงหลุดพ้นจากทุกข์และกิเลสตัณหาที่จะทำให้พระองค์เกิดความทุกข์อยู่เสมอไม่จบสิ้น[16] เมื่ออายุได้ 35 พรรษาที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์จึงได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้คือพระธรรมวินัยตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ[17] จวบจนพระองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดับสังขารอันเป็นกองแห่งทุกข์ทั้งปวง ไม่ทรงไปเกิดที่ไหนและไม่ทรงกลับมาเกิดใหม่อีกตลอดกาล เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน[18]
  • คัมภีร์ หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา ในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีท่องจำ (มุขปาฐะ) โดยใช้วิธีการแบ่งให้สงฆ์หลายๆกลุ่มรับผิดชอบท่องจำในแต่ละเล่ม เป็นเครื่องมือช่วยในการรักษาความถูกต้องของหลักคำสอน จนมาถึงยุคสังคายนาครั้งที่ 3 ได้มีการบันทึกพระธรรมและพระวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นภาษาบาลี รักษาไว้ในคัมภีร์เรียกว่า "พระไตรปิฏก" แปลว่าตะกร้าสามใบ ซึ่งหมายถึง คัมภีร์หรือตำราสามหมวดหลัก ๆ ได้แก่
  1. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี จัดเป็นรากของพระศาสนา เพราะเป็นการรักษาความน่าเชื่อถือของนักบวช
  2. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมทั่วไป และเรื่องราวต่าง ๆ จัดเป็นกิ่ง ใบ ผล ร่มเงาของพระศาสนา เพราะธรรมะย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
  3. อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่เป็นปรมัตถ์ธรรม หรือธรรมะที่แสดงถึงสภาวะล้วน ๆ ไม่มีการสมมุติ จัดเป็นลำต้นของพระศาสนา เพราะแนวคิดที่แตกต่างกันออกไปอาจก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด จึงต้องมีหลักเทียบเคียงความถูกต้องเป็นหลัก

และเรียกรวมกันทั้งหมดว่า "พระธรรมวินัย" ต่อมาภายหลังเรียกแยกเป็น "พระธรรม" คือ ความรู้ในสัจธรรมต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วและได้นำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย" คือข้อตกลง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ออกบวช เพื่อให้ผู้บวชใช้ยึดถือปฏิบัติ ในการครองเพศสมณะมีความขวนขวายมากในด้านที่ถูกต้องเป็นสาระแก่ชีวิต มีความขวนขวายน้อยในด้านอื่นที่ไม่เป็นสาระ เป็นชุมชนตัวอย่างที่ดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์ โดยมีหมวดอภิธรรมไว้อธิบายคำจำกัดความของศัพท์ในหมวดพระธรรม และมีหมวดอภิวินัยไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัย

  • ผู้สืบทอด ได้แก่ พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้
    • ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษา ปฏิบัติตามคำสอน (ธรรม) และคำสั่ง (วินัย) และมีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศชาย และ พระภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศหญิง
    • สำหรับผู้บวชที่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ 20 ปี จะเรียกว่าเป็น สามเณร สำหรับเด็กชาย และ สามเณรีและสิกขมานา (สามเณรีที่ต้องไม่ผิดศิล 6 ข้อตลอด 2 ปี) สำหรับเด็กหญิง ลักษณะการบวชสำหรับภิกษุหรือภิกษุณี จะเรียกเป็นการอุปสมบท สำหรับ สามเณรหรือสามเณรี จะเรียกเป็นการ บรรพชา
    • ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่าฆราวาส หรือ อุบาสก ในกรณีที่เป็นเพศชาย และอุบาสิกา ในกรณีที่เป็นเพศหญิง

ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา

ดูบทความหลักที่ ประวัติพุทธศาสนา

หลักการสำคัญของพุทธศาสนา

ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการรำลึกถึงพระพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธ (ภาพ: พระอจนะ วัดศรีชุม (สุโขทัย)

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้น การศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี (อิทัปปัจจยตา) และความเป็นไปตามธรรมชาติ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา

หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นหลักการพื้นฐานของจริยธรรมสากลคุณธรรมสากลและศิลธรรมสากล จริยธรรมสากลคือการรักษาหน้าที่ตามบทบาทที่สมมุติของสังคม คุณธรรมสากลคือความดีของจิตใจตามที่สังคมคาดหวัดยึดถือ ศิลธรรมสากลคือการไม่ทำร้ายกันความประพฤติถูกต้องตามที่วัฒนธรรมนั้นๆยอมรับได้ และ ปรมัตถธรรมสากล คือหลักปรัชญาหลักวิทยาศาสตร์หรือหลักวิชาการ

หลักจริยธรรม

(หลักจริยธรรม) ได้แก่ได้แก่ความกตัญญูกตเวที คือการรู้จักบุญคุญและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของ พระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกันด้วยหลักทิศ ๖ เช่น

  • พ่อแม่ทำหน้าเลี้ยงดูลูก (บุพพการี) บุตรธิดาจึงมีหน้าที่ตอบแทนบุญคุณตอบด้วยการดูแลท่านไม่ทำให้ท่านเสียใจ ดังนั้นพ่อแม่จึงตอบแทนด้วยการเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูก
  • ครูทำหน้าที่สั่งสอนศิษย์ ศิษย์จึงมีหน้าที่ตั้งใจเล่าเรียนตอบแทน ดังนั้นครูจึงตอบแทนศิษย์ด้วยการตั้งใจสั่งสอนศิษย์
  • ภรรยาดูแลลูกรักษาบ้านทำงานบ้านไม่บกพร่อง สามีจึงควรตอบแทนด้วยการไม่ดุด่าหรือไม่นอกใจ ภรรยาก็ตอบแทนด้วยความรักและจริงใจ
  • ผู้ว่าจ้างให้ทรัพย์ในการดำรงชีวิต ลูกจ้างจึงควรตอบแทนด้วยการตั้งใจทำงานรับใช้ด้วยความซื่อสัตย์ ผู้ให้ทรัพย์จึงควรตอบแทนด้วยการสนับสนุนช่วยเหลือควบคุมให้เหมาะสมถูกต้อง ตามจรรยาบรรณอาชีพของสถาบันเขา
  • สังคมมีบุญคุณหน้าที่ในการไม่ให้มีการทำร้ายกันและกันให้ปัจจัยในการดำ รงค์ชีวิตแยกตามหน้าที่ความชำนาญของแต่ละบุคคล ประชาชนเป็นหนี้สังคมจึงควรเป็นพลเมืองดีเป็นการตอบแทนสังคม ประเทศชาติต้องตอบแทนด้วยการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล
  • ศาสนาสั่งสอนให้คนในสังคมไม่โหดร้ายและมีเมตตาต่อกัน เราจึงควรเป็นคนดีตอบแทนมิให้ศาสนาอื่นดูถูกได้ว่าสังคมที่นั้นถือศาสนานี้ ส่ำสอนทางเพศชอบก่อแต่อาชญากรรมจนสังคมวุ่นวาย พระสงฆ์ตอบแทนด้วยการรักษาวินัยและตั้งใจปฏิบัติธรรม เป็นต้น

หลักคุณธรรม

(หลักคุณธรรม) เช่น พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกันด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศลหรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ

หลักศีลธรรม

(หลักศีลธรรม) หลักคำสอนสำคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์"

หลักปรมัตถธรรม

(หลักปรมัตถธรรม) พุทธศาสนา สอน "อริยสัจ 4" หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

  1. ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา
  2. สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธความดับแห่งทุกข์
  4. มรรควิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์

ซึ่งความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้ง อยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่

[สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)

สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์) ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎ ธรรมดา อันได้แก่

  1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)
  2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
  3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)

และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนานั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม และ ไฟ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆกลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือกฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ดูที่ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ

  1. ทุกขลักษณ์ (ความไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ตลอดกาล) คือสิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่างแสงอาทิตย์ต้องวิ่งมาชนโลก โลก จักรวาล กาแล๊คซี่ต้องหมุน ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งสมตา (ปรับสมดุล) เช่นเรานอนเฉยๆต้องขยับ หรือวิ่งมากๆต้องหยุด เช่นความร้อนย่อมต่องการสลายตัวไปที่เย็นกว่า ไฟฟ้าในเมฆพายุฝนที่มีมากทิ้งมาที่พื้นโลกจนเกิดฟ้าผ่า ที่ ๆ เป็นสุญญากาศย่อมดึงให้สิ่งที่มีอยู่เข้ามา ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่นพืชที่ปลูกถี่ๆกันย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือการปรับสมดุลจึงเกิดชิวิต กฎสมตาทำให้เกิดอิริยาบถที่ปิดบังทุกขัง
  2. อนิจจลักษณ์ (ความไม่แน่นอน) ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักร (วัฏฏตา) โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ เพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตนเหมือนพ่อแม่ตน ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย เช่นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในที่หนาวเย็น ตัวที่มีขนยาวกว่าพ่อแม่ตนนิดหน่อยมีเปอร์เซ็นรอดชีวิตได้มากกว่า นานๆไป สัตว์ที่อยู่ในที่หนาวเย็นส่วนใหญ๋มีขนยาวเป็นพื้นฐาน กฎวัฏฏตาทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อที่ปิดบังอนิจจัง
  3. อนัตตลักษณ์ (สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอยู่เองโดยไม่เกี่ยวเนี่ยวกับใครมีตัวตนเพราะอาศัย ปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น เช่น ต้นไม้ย่อมอาศัยแสง ดิน น้ำ แร่ธาตุ ราก ใบ กิ่ง แก่น ลำต้น อากาศ ทำให้ดำรงอยู่ได้) สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกันทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆน้อยและเพิ่มขึ้น ซับซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่ (ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่อันเป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็น ร่างกาย ร่างกายของย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ กฎชีวิตาทำให้เกิดฆน รูปร่าง หรือการเป็นก้อนๆ ที่ปิดบังอนัตตา สรุป กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่ง ทุกขลักษณ์ทำให้สิ่งทั้งปวงอยู่นิ่งมิได้ อนิจจลักษณ์เปลี่ยนแปลงธาตุต่าง อนัตตลักษณ์ทำให้เกี่ยวเนื่องผสมผสานกันทำให้ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกขลักษณ์เกิดจากการขัดแย้งกันของธาตุ อนัตตลักษณ์เกิดจากธาตุที่ต่างถูกผลักออกจากการขัดแย้งของธาตุ (ทุกขลักษณ์) มาเจอกัน อนิจจลักษณ์เกิดจากช่องว่างที่ธาตุถูกผลักออกไปและกระเด็นเข้ามาไหลเวียนเปลี่ยนผันเป็นกระแสไม่สิ้นสุด

เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป[19] (มีเพียงการสั่นสะเทือนของสสารอวินิพโภครูป8)

เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)

รูปภวจักร หรือสังสารจักรของทิเบต แสดงถึงอวิชชา ได้แก่ผลของการขาดปัญญาในการรู้ทันเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สมุทัย) ทำให้ต้องจมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์ทั้งปวงไม่จบสิ้น

เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท (หลักศรัทธาของพุทธศาสนา) พุทธศาสนา สอนว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดดลบันดาล หากเกิดแต่เหตุและปัจจัยต่างๆ มาประชุมพร้อมกัน โดยมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้หรือ อวิชชา ทำให้กระบวนการต่างๆ ไม่ขาดตอน เมื่อมีการปรุงแต่งของเจตสิกอันเป็นนามธาตุที่วิวัฒนาการตามกฎไตรลักษณ์และเหตุผลจนกลายเป็นจิต (ธรรมธาตุ๗) ตามแนวมหาปัฏฐาน จนเกิดกระบวนการทางวิญญาณ ธาตุแสง (รังสิโยธาตุ) ต่างๆเกิดมีธาตุที่ ทรงจำแสง (สัญญา) เพ่งรู้แสง (มโน) ควบคุมแสง (สังขาร) อัสนีธาตุ (จิตตะ) ประสานกับรูปขันธ์ของชีวิตินทรีย์ (เช่นไวรัส แบคทีเรีย ต้นไม้ที่เป็นไปตามกฎชีวิตา) ทำให้เหตุผลของรูปธาตุเป็นไปตามเหตุผลของนามธาตุด้วย (จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว) ทำให้รูปขันธ์ที่เป็นชีวิตินทรีพัฒนา มีอายตนะทั้ง 6 และ

  1. เมื่ออายตนะกระทบกับสรรพสิ่งที่มากระทบ (ผัสสะ)
  2. จนเกิดความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง (เวทนา อันเกิดจากการแปรปรวนแห่งนามธาตุ)
  3. เมื่อได้สุขมาเสพก็ติดใจ
  4. อยากเสพอีก ทำให้เกิดความทะยานอยาก (ตัณหา) ในสิ่งต่างๆ เมื่อประสบสิ่งไม่ชอบใจ พลัดพรากจากสิ่งที่ชอบใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
  5. จึงเกิดการแสวงหาความสุขมาเสพ
  6. จนเกิดการสะสม
  7. นำมาซึ่งความตะหนี่
  8. หวงแหน
  9. จนในที่สุดก็ออกมาปกป้องแย่งชิงจนเกิดการสร้างกรรม และยึดว่าสิ่งนั้นๆเป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ) (เป็นปัจจยการ9)

ทำให้มีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) เมื่อมีอุปาทานว่าเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ เช่น คนตาบอดแต่เกิด เมื่อมองเห็นภาพตอนโตย่อมต้องอาศัยอุปาทานว่าภาพที่เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ จนสร้างภพขึ้นในใจ

สสารทำให้เกิดเวลาและระยะทาง (ทฤษฎีสัมพันธภาพ) ถ้าไม่มีสสารก็ไม่มีเวลาและระยะทาง (เช่น นอกเอกภพย่อมไม่มีสถานที่ใดๆและไม่มีเวลา) เมื่อนามธาตุ (จิตเจตสิกและเหตุผลของนามธาตุ (กฎแห่งกรรม)) ที่อยู่นอกเหนือเวลาและภพ แต่มาติดในเวลาและภพเพราะความยึดติดในสสารของจิต กรรมที่สร้างเป็นเหตุให้ต้องรับผลแห่งกรรม (หรือวิบากกรรม) ตามกฎแห่งกรรม ต่อเนื่องกันไป ตามหลักปฏิจจสมุปบาทสู่การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิทั้ง 31 ภูมิ (มิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุด) ในโลกธาตุที่เหมาะสมในเวลานั้นที่สมควรแก่กรรม นี้เรียกว่า สังสารวัฏ ตาม กฎแห่งกรรม

กฎแห่งกรรม นี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดการเกิดภพชาติความเป็นไปของแต่ละดวงจิตในสังสารวัฏจนเป็นเหตุปัจจัยให้ประพบเจอความทุกข์ความสุข ปรารถนาหนีทุกข์ หรือแสวงหาความสุขจนสร้าง กรรม (คือการกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาสั่งการโดยจิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำที่ดี (บุญ/กุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลาง ๆ อันทำให้มีผลของการกระทำตามมา (วิบาก) เมื่อกรรมมากพอ ถูกทาง และควรให้ผล ถ้ากรรมดีหรือกรรมชั่วหนักให้ผลอยู่กรรมที่ให้ผลแตกต่างแต่มีกำลังน้อยกว่า ย่อมไม่อาจให้ผลจนกว่ากรรมหนักนั้นจะอ่อนกำลังลงไป ในทางพุทธศาสนาเชื่อ ว่าผลของการกระทำจะไม่สูญหายไปไหน แต่รอเวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ โดยกรรมในอดีตที่จะส่งผลสามารถบรรเทาเบาบางลงได้ถ้ามีสติปัญญารักษาตัวทำ กรรมในปัจจุบันที่ถูกต้องเหมาะสม) กรรมเหมือนการปลูกต้นไม้เรารู้ว่าปลูกทุเรียน ย่อมได้ต้นทุเรียนหรืออาจได้ผลทุเรียน แต่ไม่อาจรู้ได้ว่าต้นทุเรียน จะมีรูปร่างเช่นไรให้ผลที่กิ่งไหน กล่าวโดยย่อว่า สิ่งทั้งหลาย ในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นตาม เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป การกระทำที่ไม่มีเจตนาหรือจิตรวมด้วยไม่เรียกว่ากรรมเรียกว่ากิริยา (เช่นลมพัด) ผลไม่เรียกวิบากเรียกปฏิกิริยา (ลมพัดใบไม้ไหว) กรรมดีเปรียบเหมือนน้ำกรรมชั่วเหมือนเกลือกรรมดีมากๆอาจละลายความเค็มของ เกลือคือไม่ให้ผลหนักที่เดียวแต่ค่อยๆทยอยให้ผลเบาๆจนแทบไม่รู้สึกได้

สำหรับการเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงผิดในสิ่งสมมุติต่างๆซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เมื่อจิตยังมีอวิชชาสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด จนกว่าจะทำลายที่ต้นเหตุคืออวิชชาลงได้

ความดับทุกข์ (นิโรธ)

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ อันสูงสุดคือ นิพพาน คือการไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)

ความดับทุกข์ (นิโรธ) คือ นิพพาน ( เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ) อันเป็น แก่นของพระพุทธศาสนา หรือ

เนื่องจากธรรมดาของสัตว์โลกมีปกติทำความชั่วมากโดยบริสุทธิใจในความเห็นแก่ตัว ทำดีน้อยซึ่งไม่บริสุทธิ์ใจ ซ้ำหวังผลตอบแทน จึงมีปกติรับทุกข์มากกว่าสุข ดังนั้น ถ้าเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพ่อค้าที่ฉลาดยอมรู้ว่าขาดทุนมากกว่าได้กำไร และ สุขที่ได้เป็นเพียงมายา ย่อมปรารถนาในพระนิพพาน เมื่อ ขันธ์5 แตกสลาย เจตสิกที่ประกอบกันเป็นจิตนั้นก็แตกสลายตามเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีเหตุปัจจัยจะประกอบกันเป็นจิตนั้น กรรมย่อมไม่อาจให้ผลได้อีก (อโหสิกรรม) เหลือเพียงแต่พระคุณความดีเมื่อมีผู้บูชาย่อมส่งผลกรรมดีให้แก่ผู้บูชา เหมือนคนตีกลอง กลองไม่รับรู้เสียง แต่ผู้ตีได้รับอานิสงส์เสียงจากกลอง

วิถีทางดับทุกข์ (มรรค)

วิถีทางดับทุกข์ (มรรค) คือ มัชฌิมปฏิปทา (หลักการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนา) ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว คือ การฝึกสติ (การทำหน้าที่ของจิตคือตัวรู้ให้สมบูรณ์) เป็นวิธีฝึกฝนจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์หรือมหาสติปัฏฐาน โดยการปฏิบัติหน้าที่ทุกชนิดอย่างมีสติด้วยจิตว่างตามครรลองแห่งธรรมชาติ มีสติอยู่กับตัวเองในเวลาปัจจุบัน สิ่งที่กำลังกระทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญกว่าทุกสรรพสิ่ง จนบรรลุญานโดยการดำเนินตามเส้นทางอริยมรรคโดย ยึดทางสายกลาง ( การดำเนินทางสายกลาง ที่ไม่ใช่ทางสายกลวง คือสักแต่ว่ากลางโดยไม่มีวิธีการที่แน่ชัด โดยทางพระพุทธศาสนากำหนดวิธีการที่ชัดเจนคือหลักมรรค 8)

เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนของการบำเพ็ญเพียรฝึกฝนทางจิต คือ

  1. ศีล (ฝึกกายและวาจาให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงการควบคุมจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำด้วยการเลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียง)
  2. สมาธิ (ฝึกความตั้งใจมั่นจนเกิดความสงบ (สมถะ) และทำสติให้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง) (วิปัสสนา) ด้วยความพยายาม
  3. ปัญญา (ให้จิตพิจารณาธรรมชาติจนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) และตื่นจากมายาที่หลอกลวงจิตเดิมแท้ (ฐิติภูตัง))

ศาสนสถาน

วัดอันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณรตลอดจน แม่ชี เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในพระอุโบสถ อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมเช่นการเวียนเทียนใน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมในทางช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนา เช่นการมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย สำหรับประเทศไทย วัด จะมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ พระอุโบสถ หรือ โบสถ์ ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมต่างๆ กุฏิ ใช้เป็นที่จำวัดของภิกษุ/สามเณร บางวัดอาจมี ศาลาการเปรียญ เพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นที่ศึกษาธรรมะของภิกษุ/สามเณร

เจดีย์/สถูป เป็น สังเวชนียสถาน เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในประเทศไทย มีเจดีย์สำคัญๆ หลายๆ แห่ง อาทิ พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม

พิธีกรรม

พิธีกรรมต่างๆในทางพระพุทธศาสนารวมเรียกว่าศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาพิธีกรรมที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างเป็นหลักการคือสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และพิธีกรรมที่มีมาตามวัฒนธรรมคืออัญชลี (การประนมมือ) วันทา (การไหว้) และอภิวาท (การกราบ) รวมถึงการเวียนประทักษิณ (เดินวนขวาสามรอบหรือการเวียนเทียน) และการพรมน้ำมนต์ เนื่องจากศาสนาพุทธถือว่าพิธีกรรมเป็นเพียงอุบายในการช่วยให้เข้าสู่ความดี ในผู้ที่ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ทางศาสนา จึงไม่จำกัดหรือเจาะจงแน่ชัดลงไป ดังนั้นพิธีกรรมของชาวพุทธจึงมีความยืดหยุ่นและเป็นไปตามวัฒนธรรมของชนชาติ นั้นๆตามความชอบของสังคมนั้น ทำให้ประเพณีชาวพุทธทั่วโลกจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากพุทธไม่ถือว่าวัฒนธรรมตนเป็นวัฒนธรรมเอกและเห็นวัฒนธรรมอื่น เป็นวัฒนธรรมรองจนต้องทำลายหรือดูดกลืนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ใจกว้างในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยินดีในความหลากหลายทางประเพณี ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของกันและกันได้ดี

ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา

ลักษณะเด่นของพุทธศาสนาที่สำคัญคือ ไม่มีพระผู้เป็นเจ้า, ไม่มีการบังคับศรัทธา และให้ใช้เหตุผลเหนือความรู้สึก แต่ทว่าด้วยการไม่บังคับศรัทธานี่เอง ทำให้เราอาจเห็นชาวพุทธที่ไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนา กราบไหว้เทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อเอาแต่อ้อนว้อนโดยไม่พึ่งกำลังแห่งการกระทำของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดและปฏิเสธหลักการของพุทธศาสนาได้

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในยุคที่สังคมอินเดียมีสภาพการณ์หลายอย่างที่วุ่นวาย เช่น มีการแบ่งแยกกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน ถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด มีความแตกต่างกันทางฐานะอย่างมากมาย (มีทั้งเศรษฐีมหาศาลและคนยากขาดแคลน) และลัทธิ ความเชื่อ ศาสดา อาจารย์เกิดขึ้นมากมาย ที่สอนหลักการยึดถือปฏิบัติอย่างผิดพลาด หรือสุดโต่ง เช่น การใช้สัตว์เป็น จำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ การบำเพ็ญทุกรกิริยาของนักบวชบางพวก การปล่อยชีวิตให้เป็นไปโดยไม่แก้ไขถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า รวมถึงการกีดกันไม่ให้คนบางพวก บางกลุ่มเข้าถึงหลักการ หลักคำสอนของตนได้ เนื่องจากข้อจำกัดของชาติกำเนิด ฐานะ เพศ เป็นต้น แต่พุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกตามชั้นวรรณะ จึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น

ศาสนาแห่งเหตุผล

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ และธรรมที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 ก็เป็นความจริงอย่างแท้จริง ให้เสรีภาพในการพิจารณา ให้ใช้ปัญญาเหนือศรัทธา ในขณะที่บางศาสนาสอนว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะสงสัยในพระเจ้าไม่ได้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา และการแสวงหาความจริง และส่งเสริม (ท้าทาย) ให้ศาสนิก พิสูจน์ หลักธรรมนั้นด้วยปัญญาของตนเอง ไม่สอนให้เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน เช่น หลักกาลามสูตร

ศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ

พุทธศาสนาไม่มีการบังคับ ให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่ท้าทายให้เข้ามาเรียนรู้ และพิสูจน์หลักธรรม ด้วยตนเอง ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel) จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกฎให้คู่รักศาสนิกของตนต้องเปลี่ยนศาสนาย้ายมานับถือก่อนจึงจะให้ แต่งงานได้ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนนับถือ ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก ทั้งจุดมุ่งหมายคือวิมุตติความหลุดพ้น เป็นอิสระจากกิเลสตัณหาทั้งปวง

ในอีกนัยหนึ่ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทำ เลือกเป็น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรียมปัจจัยให้พร้อม ที่จะทำให้เกิดผลอย่างที่ต้องการ (เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ผลก็จะเกิดขึ้น) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง หรือเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น)

ศาสนาอเทวนิยม

เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาไม่ยอมรับในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงจัดอยู่ในศาสนาประเภท อเทวนิยม ในความหมายที่ว่าไม่เชื่อว่า พระเจ้าบันดาลทุกสรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล และพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน และไม่อ้างว่าเป็นทูตของพระเจ้า นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ดังคำพุทธพจน์ที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่ง ต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้าผู้เป็นใหญ่ ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศาสนาแห่งสันติภาพ

ในกระบวนการนักคิดของโลกศาสนา พุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของพุทธศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ สอนให้มีความรักต่อสรรพชีวิตใดๆไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักสุข-เกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา สอนให้เมตตาทั้งผู้อื่นและตัวเอง ไม่สอนให้ละเมิดสิทธิของตนเองและไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สหประชาชาติยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสันติภาพโลก

นิกาย

พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม ประเทศเกาหลีใต้

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท และมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่องจาก มหายานมีต้นเค้ามาจากท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ส่วนวชิรยานมีต้นเค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘