DMC Guide

ทักทายกันก่อน
แนะนำตัวช่อง DMC
ฮอตติดจอ ฮิตติดใจ อนุบาลฝันในฝันวิทยา
กฎแห่งกรรมคืออะไร
ปรโลกและชีวิตหลังความตาย คืออะไร
ปรโลก ฝ่ายสุคติ
ปรโลก ฝ่ายทุคติ
นรก คืออะไร ตายแล้วไปไหน?
ยมโลก อุตสทนรก มหานรก
ทำบุญอะไรจึงจะได้ไปสวรรค์ในแต่ละชั้น?
สวรรค์ชั้นดุสิตหรือดุสิตบุรี ดีอย่างไร?
คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ คือใคร ?
พญานาค คือใคร?
ยักษ์ คือใคร?
ครุฑ ภุมมเทวา รุกขเทวา อากาสเทวา คือใคร?
เงินร้อนๆ กับความสงบสุขร่มเย็น เลือกอันไหนดี
ลูกรัก...แม่ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า
เพื่อนใหม่...ที่ไม่ฆ่าลูก
เป็นสมาชิก DMC ดีอย่างไร ?
ช่องทางรับชมดาวธรรม
สนใจติดตั้งจานดาวธรรม
สิ่งที่จำเป็นต่อการดูเว็บ www.dmc.tv
แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ
กระผม/ดิฉันดูวีดีโอไม่ได้ครับ/ค่ะ
วิธีการชม Windows Media ผ่านบนระบบปฏิบัติการ Linux (Ubuntu)
วิธีการดู DMC ทางเครื่อง Apple Macintosh ด้วยโปรแกรม Windows Media Player
How to watch DMC on a MacHow to watch DMC.TV, for Apple Macintosh users
DMC on PDA
การบ้าน 10 ข้อ ของนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
คำถามที่ถามบ่อย (FAQs)
คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับศูนย์กลางธรรมกายแห่งโลก
ศูนย์สาขาทั่วโลก
เว็บเครือข่ายวัดพระธรรมกาย

ของที่ไม่รู้จักอิ่มมี ๑๖ อย่าง

ดูกรชาวกาลามทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
1. อย่าได้ถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
2. อย่าได้ถือตามถ้อยคำสืบๆกันมา
3. อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้
4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
5. อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน
7. อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ
8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกับทิฐิของตน
9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา
เกสปุตตสูตร

พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ดังนี้คือ
1. ไม่พึงยกตน
2. ไม่ข่มบุคคลเหล่าอื่น
3. ไม่พึงกระทบกระทั่งบุคคลเหล่าอื่น
4. ไม่กล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมชน เพื่อมุ่งลาภผล
5. ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณมีวัตร
วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ
1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
2. เป็นผู้ทุศีล
3. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
4. แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา
5. ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนา
จัณฑาลสูตร

ผู้ใดกล่าววาจาอันประเสริฐ แต่ประพฤติธรรมไม่ประเสริฐ ผู้นั้นย่อมพลาดจากโลกทั้งสองคือโลกนี้และโลกหน้า
มหาหังสชาดก

ชน ทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ได้ตั้งมั่น ชนเหล่านั้นย่อมไม่งอกงามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ส่วนชนทั้งหลาย เป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรมวินัย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ชราสุตตนิเทส

บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
จูฬาราหุโลวาทสูตร

พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัจ
คาถาธรรมบท

บุคคลพึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การกล่าววาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้เปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
สารัมภชาดก

บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่ไพเราะในกาลใหนๆ
นันทิวิสาลชาดก

ท่านอย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน เพราะว่าถ้อยคำแข่งดีให้เกิดทุกข์
คาถาธรรมบท

ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุพภาษิต
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น
โกกาลิกสูตร

ก็ บุคคลบางพวก ย่อมประถ้อยคำกัน เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้น ผู้มีปัญญาน้อย ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาทเกิดจากคลองแห่งน้ำคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา
ธรรมิกสูตร

ชน ทั้งหลายผู้ไม่สำรวมแล้ว ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึก ทิ่มแทงกุญชรผู้เข้าสงครามด้วยลูกศร ฉะนั้น ภิกษุผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย ฟังคำอันหยาบคายที่คนทั้งหลายเปล่งขึ้น แล้วพึงอดกลั้น
สุนทรีสูตร

ผู้ใดปากบอน นับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้ายคล้ายอสรพิษ บุคคลควรระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล
ปัณฑรกชาดก

พึงทำอย่างใด พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ว่า บุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูดนั้นมีมาก
พากุลเถรคาถา

หากวาจาแม้ตั้งพัน ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้ บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบประเสริฐกว่า
คาถาธรรมบท

บุรุษ ไม่พึงให้ซึ่งตน (แก่ความชั่ว) ไม่พึงสละซึ่งตน (แก่ความชั่ว) วาจาที่ดีควรปล่อย (ให้คนอื่น) แต่วาจาที่ลามก ไม่ควรปล่อย (ให้คนอื่น)
กามสูตร

การ ไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต ๑ ที่นอนและที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ปิณโฑลภารทวาชสูตร

โทษ ของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมโปรยโทษของผู้อื่น ดุจบุคคลโปรยแกรบ แต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยกิ่งไม้ฉะนั้น
คาถาธรรมบท

ในหมู่มนุษย์ คนที่ได้ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด
คาถาธรรมบท

ภูเขา หินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหว เพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น บัณฑิตทั้งหลายอันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการสูงๆ ต่ำๆ
คาถาธรรมบท

บุ รุญเข็ญใจ ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมด่า ย่อมบริภาษสมณะหรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ คนเหล่านั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรกอันร้ายแรง นี้ชื่อว่าผู้มืดแล้วคงมืดต่อไป
ปุคคลสูตร

คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิตหรือคฤหัสถ์สาวกของพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย
วสลสูตร

บัณฑิตไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหาย กับคนที่ชอบส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่และปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก
อานันทเถรคาถา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง 8 ประการนี้คือ
1. ทารกทั้งหลายมีการร้องให้เป็นกำลัง
2. มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง
3. โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็นกำลัง
4. พระราชาทั้งหลายมีอิสริยยศเป็นกำลัง
5. คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
6. บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
7. พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง
8. สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง
พลสูตร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘