การติดตั้ง Ubuntu บนโน้ตบุ๊คตัวเก่ง

หลังจากได้ดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โอเพนซอร์สในโรงเรียน ประสบผลสำเร็จแล้ว ก็ได้จัดการให้เครื่องโน้ตบุ๊คตัวเก่งอีกตัวของผมกลายร่างจาก Vista Home Premium ที่เขาให้มากลายเป็น Ubuntu 9.04 เป็นที่เรียบร้อย ลองผิดลองถูกโดยอาศัยการอ่านจาก wikipedia และเว็บไซต์คนรักอูบุนตูของไทย www.ubuntuclub.com ยุยงให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในโรงเรียนหันมาใช้ Ubuntu กัน เพื่อหนีจากไวรัสวายร้ายทั้งหลาย และเพื่อความภูมิใจของเราที่ใช้ซอฟท์แวร์ถูกต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด สามารถใช้งานได้เทียบเท่าหรือดีกว่าซอฟท์แวร์แพงๆ จากหลายๆ ค่ายด้วย

วันนี้ได้ดาวน์โหลดแผ่น Ubuntu 9.0.5 จากอูบุนตูคลับมา ลองติดตั้ง ก็เลยถือโอกาสเขียนบันทึกการติดตั้งและแก้ปัญหาต่างๆ ไว้เป็นเอกสารอ้างอิงซะหน่อย เผื่อในภายหลังจะได้ไม่ต้องไปค้นหาอีก และเผื่อผู้ใด คนอื่นๆ ที่สนใจจะติดตั้งบ้างจะได้คลำเป็นแนวทางได้ ขอบคุณเคล็ดลับเด็ดๆ เหล่านี้จากเพื่อนพ้องชุมชนคนรักอูบุนตูทุกท่านไว้ด้วย ณ ที่นี้ (บทความนี้เขียนผ่านหมาย่าง (Firefox) ในอูบุนตู 9.0.5 ครับ)

ก่อนจะ เขียนถึงการติดตั้งก็ขอเล่าถึงสาเหตุที่ ทำไม? คนถึงไม่ย้ายการทำงานมายังฝั่งลินุกส์กันหนอ... ได้ไปอ่านบทความของฝรั่งมังค่าเขาว่าไว้ ที่เราอยากย้ายจาก Windows ไป Linux นั้นเราไม่เคยแม้แต่จะคิดถึงข้อดีข้อเสียของ Linux เพราะเราเตรียมเหตุผลไว้ให้เรียบร้อยเสร็จสรรพ เปรียบได้กับว่า "หญ้าบนสนามเขียวกว่าข้างทางเสมอ" นั่นปะไร ต่อไปนี้คือเหตุผล 5 ข้อที่ได้เตรียมไว้แล้ว
  • Linux มีซอฟต์แวร์ให้ใช้งานไม่มากนัก
    ถ้าคุณมีซอฟต์แวร์ซักตัวที่ซื้อมา และจำเป็นต้องใช้ แต่คุณจะให้มันทำงานบน Linux นั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่า Linux จะมีซอฟต์แวร์ที่เป็น Opensource จำนวนมาก แต่ความสามารถในการทำงานนั้นยังไม่ดีเท่ากับซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายโดยผู้ ผลิตซอฟต์แวร์ การเรียนรู้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์ใหม่นั้นจำเป็นจะต้องใช้เวลาและความคุ้นเคย ถึงแม้ว่าบน Linux จะมีซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า WINE ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จะสามารถทำให้ซอฟต์แวร์บน Windows ไปใช้งานบน Linux หรือ Unix ได้นั้นแต่มีซอฟต์แวร์และอุปกรณ์จำนวนมากที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับ WINE ได้ ยิ่งเป็นการเล่นเกมส์นั้นเป็นเรื่องยากสำหรับ Linux เลยก็ว่าได้
  • Linux เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง
    ถ้า คุณต้องการความช่วย เหลือบนโลกอินเตอร์เน็ทเกี่ยวกับปัญหาของคุณในการใช้ Linux การหาความช่วยเหลือนั้นเป็นการยากกว่า Windows มาก ถึงแม้ว่าคุณจะซื้อ Linux มาจากผู้ผลิตซึ่งก็สามารถโทรศัพท์สอบถามปัญหาได้ แต่ถ้าต้องการให้มาบริการถึงบ้านนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ถึงแม้จะเป็นเขตเมืองก็ตาม ต่างกับ Windows ที่มีบริการให้และมีผู้จัดจำหน่ายมากมายที่คอยช่วยเหลือคุณ (เคยมีคนยกเครื่องที่ติดตั้งลินุกซ์ไปที่ร้านค้า แล้วช่างประจำร้านทำหน้างงๆ เริ่มต้นไม่ถูก แว่วๆ ว่า ฟอร์แมตลงวินโดว์ใหม่ดีกว่า วินโดว์มากับเครื่องแย่มาก) ยิ่งถ้าเป็นการทำธุรกิจการเสียเวลานั้นอาจเป็นความเสียหายทางธุรกิจเลยที เดียว Linux แต่ละค่ายนั้นก็มีความแตกต่างกันแม้ว่าจะเป็น Linux แต่โครงสร้างของซอฟต์แวร์นั้นก็ต่างกันพอสมควร ผู้ที่จะเปลี่ยนจาก Windows ไปยัง Linux นั้นจะต้องมีความชำนาญและประสบการณ์ในด้านเทคนิคมากพอตัวเลยทีเดียว หรือไม่ก็กล้าบ้าบิ่นพร้อมจะเรียนรู้ ผจญกับปัญหา
  • Linux การเรียนรู้ด้วยตนเอง
    ถึง แม้ว่า Linux สมัยนี้นั้นจะมีหน้าตาและการใช้งานที่ง่ายแต่การบำรุงรักษา การติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น ยังหลีกหนีการใช้งานบรรทัดคำสั่ง (Command line) ไปไม่พ้น ซึ่งแค่การใช้งานแบบกราฟิกก็จำเป็นต้องเรียนรู้อย่างมากแล้วสำหรับผู้ เริ่มต้นใหม่ เอกสาร การอบรม และสื่อ ที่จะสอนการใช้งานและบำรุงรักษานั้นเป็นเรื่องหาได้ยากบนโลก Linux ซึ่งต่างจาก Windows อย่างสิ้นเชิงซึ่งมีหนังสือเอกสาร การฝึกอบรมให้คุณหาเรียน หาซื้อได้อย่างมากมาย ไม่เชื่อเดินเข้าไปนับเล่มในร้านขายหนังสือใหญ่ๆ ได้
  • Linux ยังไม่รองรับ Blu ray
    Linux นั้นไม่มีซอฟต์แวร์ที่เป็นซอฟต์แวร์เล่นแผ่น Blu ray เหมือนอย่าง WinDVD เนื่องจากมีข้อห้ามไม่ให้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ เล่น Blu-ray บน Linux เพราะปัญหาความยุ่งยากในการพัฒนาและ เป็นเรื่องยากที่จะทำการถอดรหัส Blu ray บน Linux ถ้าคุณมี Blu ray จำนวนหนึ่งและจำเป็นจะต้องใช้ความสามารถของ Blu ray คุณจะต้องประสบปัญหานี้อย่างแน่นอน แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไปในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือมีบุคคลพัฒนาขึ้นมาใช้เองอย่างที่เคยมีมา และมักจะเป็นเช่นนั้น
  • Linux เราเข้ากันไม่ได้
    ปัญหา หนึ่งที่ใหญ่มากสำหรับผู้ ใช้ Linux และอาจจะต้องพบเจอคือปัญหาด้านการรองรับฮาร์ดแวร์ สำหรับฮาร์ดแวร์เก่าๆ นั้นอาจไม่มีปัญหามากนัก แต่ก็ยังมีฮาร์ดแวร์จำนวนหนึ่งที่ยังไม่รองรับ การแก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ของผู้ใช้ Windows นั้นเป็นเรื่องง่ายกว่า Linux มากการใช้งาน ไดร์เวอร์สำหรับ Linux ก็ไม่มีการรับประกันแต่อย่างใด อีกทั้งอาจไม่สามารถเรียกใช้ความสามารถ ทั้งหมดของอุปกรณ์ได้ ยิ่งซอฟต์แวร์บางอย่างที่จำเป้นต้องใช้งานคู่กับฮาร์ดแวร์แล้วยิ่งเป็นปัญหา แต่คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าฮาร์ดแวร์ที่คุณจะซื้อนั้นรองรับ Linux หรือไม่โดยการใช้ LiveCD ทดลองใช้งานดูก่อนตัดสินใจซื้อ ฮาร์ดแวร์ที่พบปัญหาในตอนนี้ก็เช่น Internal Modem (โชคดีที่เราใช้ Wireless และ ADSL กันมากกว่า), Card Reader และพวกตรวจสอบลายนิ้วมือ (Finger Print)

จาก 5 เหตุผลดังกล่าว การเริ่มต้นใช้งาน Linux นั้นอาจมีข้อเสียมากมาย แต่เป็นการดีมิใช่หรือที่เราจะได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างน้อยก็ดีกว่าที่เราไปละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาได้พัฒนาขึ้นมาซึ่งถือว่าเป็นการขโมยอย่างหนึ่งเช่นกัน ซึ่งตัวผู้เรียบเรียงบทความก็เลือกใช้ Linux เป็นหลักสำหรับพีซีและโน้ตบุ๊คส่วนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิ์ผู้พัฒนา

ที่มา - Lxer.com

หน้าจอ Ubuntu 9.0.5 เครื่อง HP DV3636TX ตัวเก่งของผม
หน้าจอ Desktop Ubuntu เครื่อง HP DV3636TX ของผม

เกริ่นนำ...

การ ทำงานกับลินุกส์นั้นเป็นระบบ Multi-user นั่นคือ สิทธิของการล็อกอินเข้าสู่ระบบในชื่อใด สิทธิในการจัดการไฟล์จะมีสิทธิเฉพาะโฟลเดอร์ /home/username เท่านั้น หากจะกระทำการใดๆ เช่นอัพเดทแพ็กเกจ ติดตั้งซอฟท์แวร์เพิ่มเติม หรือจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ระบบจะต้องใช้สิทธิของ root เท่านั้น ด้วยการใช้คำสั่ง sudo นำหน้าการกระทำนั้นๆ เช่น การจัดการไฟล์ ย้ายไฟล์ แก้ไขไฟล์ระบบ ให้สั่งผ่าน Terminal ก่อนด้วยคำสั่ง

montree@m-ubuntu:~$ sudo nautilus

เครื่อง จะถามหารหัสผ่านของผู้ใช้ที่มีสิทธิเทียบเท่า root (ชื่อแรกที่ใส่ในตอนติดตั้งระบบ) ใส่ลงไปเลยให้ถูกต้อง (จะมองไม่เห็นว่าได้พิมพ์อะไรลงไปกี่ตัวอักษร ต้องใช้ความจำของท่านเอง ใส่จนครบแล้วกดปุ่ม enter) จะมีการเปิดหน้าต่างให้เราสามารถจัดการไฟล์ต่างๆ ในฐานะของผู้ดูแลระบบ root ได้ทันที จะแก้ไข โยกย้ายก็ทำได้แล้ว

หรือจะจัดการสร้างรหัสผ่านให้กับ root เพื่อให้มีสิทธิในการทำงานมากยิ่งขึ้นก็ได้ โดยการใช้คำสั่งดังนี้

montree@m-ubuntu:~$ sudo passwd root

เครื่อง จะถามหารหัสผ่านของผู้ใช้ปัจจุบัน เพื่อการยืนยันสิทธิในการเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็ใส่ลงไปให้ถูกต้อง จากนั้นจะมีคำถามว่า Enter new UNIX password: ก็ใส่รหัสผ่านของ root ตามที่ต้องการ และใส่ยืนยันอีกครั้ง ตามภาพ เมื่อจะใช้งานครั้งต่อไป ก็สั่ง su ใส่รหัสผ่านแล้วจัดการทุกสิ่งได้ง่ายดายยิ่งขึ้น (ตัวอย่างในรูปมีการป้อนรหัสผ่านผิดให้ชมด้วย)

กำหนดรหัสผ่านให้กับ root
การกำหนดรหัสผ่านให้กับ root เพื่อการจัดการระบบได้เต็มที่

Update Packages

หลัง การติดตั้งให้ทำการอัพเดทก่อนเพื่อความสดใหม่ ปกติถ้าสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ รอสักครู่จะมีหน้าต่างให้อัพเดทอัตโนมัติ แต่ถ้ายังไม่ปรากฏก็สั่งเองได้ ให้เปิด Terminal แล้วสั่งการอัพเดท ดังนี้

montree@m-ubuntu:~$ sudo apt-get update

จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของ Packages ก็จัดการอัพเดทได้เลยรอสักครู่ (ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่าน)

No Sound!

ทำ การอัพเดทเรียบร้อยแล้ว เสียงไม่ดังแฮะ ต้องแก้ไขครับ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ชิฟเซ็ทของการ์ดเสียงมีหลายรุ่น และส่วนใหญ่ยังไม่มีไดรเวอร์ที่ตรงๆ กับลีนุกส์เท่าไหร่ แต่ก็สามารถแก้ไขให้เสียงดังได้

กด Alt+F2 พิมพ์คำสั่ง gksu gedit /etc/modprobe.d/alsa-base.conf กด จะมีหน้าต่างของไฟล์กำหนดค่า alsa-base.conf ขึ้นมาให้เอาโค๊ดข้างล่างนี้ (ตัวหนา) ไปต่อท้าย (ตรวจสอบดูจะมีสองบรรทัดบนอยู่แล้ว)

# Keep snd-pcsp from beeing loaded as first soundcard
options snd-pcsp index=-2
alias snd-card-0 snd-hda-intel
alias sound-slot-0 snd-hda-intel
options snd-hda-intel model=dell-m4-1
options snd-hda-intel enable_msi=1

แล้วจัดเก็บแฟ้ม จากนั้นไปที่เมนู System > Preferences > Sound เลือกอุปกรณ์ต่างๆให้เป็น ALSA ให้หมดดังภาพ

การกำหนดค่าเสียงเป็น alsa
หน้าต่างกำหนดค่าของเสียงให้เป็นอุปกรณ์ Alsa ทั้งหมด


กด Alt+F2 พิมพ์คำสั่ง gksu gedit /etc/group กด ค้นหาบรรทัดนี้

audio:x:29:pulse

ดู ว่าบรรทัดดังกล่าวมีชื่อยูสเซอร์ที่เราล็อกอินหรือไม่ ถ้าไม่มีให้เพิ่มชื่อยูสเซอร์นั้นๆ ต่อท้าย (ตัวอย่างยูสเซอร์ผมชื่อ montree)

audio:x:29:pulse,montree

แล้วจัดเก็บแฟ้ม รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ถ้ายังไม่มีเสียงให้ตรวจสอบตั้งค่าระบบเสียงถูก Mute ไว้หรือไม่? น่าจะมีเสียงแล้วนะ

Webcam ไม่ทำงานแก้ได้

การติดตั้งไดรเวอร์ Webcam ให้เปิด Terminal แล้วสั่งการติดตั้งโปรแกรมที่ชื่อ XawTV ดังนี้

montree@m-ubuntu:~$ sudo apt-get install xawtv

รอสักครู่ จนการดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จสิ้น ให้ไปที่เมนู Applications > Sound & Video > XawTV ก็จะเห็นภาพจากกล้องในทันทีเลย

ผู้เขียนเองแหละผ่านกล้อง Webcam in Ubuntu

กล้องทำงานหลังจากการติดตั้ง XawTV

มีอีกตัวหนึ่งสำหรับการใช้งาน Webcam สามารถบันทึกวีดิโอ หรือภาพนิ่งได้ด้วย โปรแกรมชื่อ Cheese ครับ สามารถสั่งอัพเดทได้โดยตรงเลย

montree@m-ubuntu:~$ sudo apt-get install cheese

ติดตั้งเสร็จตัวโปรแกรมจะไปอยู่ใน Applications > Graphics > Cheese Webcam Booth ลองใช้งานกันดูนะครับ

การสลับภาษาไทย-อังกฤษในคีย์บอร์ด

การเปลี่ยนแป้นพิมพ์สลับภาษา โดยปกติ Ubuntu จะใช้ปุ่ม Alt + Shift แต่สำหรับบรรดาผู้เคยชินกับทางฝั่งเล็กนิ่ม (Microsoft Windows) นั้นจะถนัดในการใช้ฮอตคีย์สลับภาษาด้วย quote left (`) หรือ Grave (~) ... กันมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งซอฟท์แวร์เล็กๆ ที่คุณสมเจตต์ทำไว้สำหรับอูบุนตู 8.10, 9.04 ดาวน์โหลดมาติดตั้งได้จากลิงก์ข้างล่าง

http://mirror.nytes.net/linux/clubuntu/Packages/xkb-data-grave.deb

สำหรับท่านที่ติดตั้ง Ubuntu 9.0.5 จากอูบุนตูคลับไม่ต้องติดตั้งนะครับมีไว้ให้ในตัวแล้ว เพียงแต่ต้องเข้าไปกำหนดค่ากันที่ System > Preferences > Keyboard และเลือกเพิ่มดังภาพได้เลย

ตั้งค่าคีย์บอร์ดเปลี่ยนภาษาไทย

ที่ Layout Options... เลือก Grave switches layout เพิ่มเติมแค่นี้เองครับ

Script Add Thai Fonts For Ubuntu

สำหรับ สาวกลีนุกส์ ที่พี่งย้ายบ้านจากเล็กนิ่ม (Microsoft Windows) ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหน คงจะมีปัญหาไม่น้อยสำหรับการทำงานกับ OpenOffice เพราะหลายๆ ท่านยังคุ้นเคยกับ fonts ของ windows อยู่ วันนี้ผมมี script ที่จะช่วยให้ท่านๆ ทั้งหลายติดตั้ง fonts Angsana new / UPC และ fonts อื่นๆ (กลุ่มฟอนต์ฟรีจาก Sipa) ที่เราเคยใช้กันใน windows มาฝาก พร้อมแล้วก็ลุยกันเลยครับ

Step 1. Download script thfonts.sh http://lion.bus.ubu.ac.th/oss/Ubuntu/thfonts.sh

Step 2. $ chmod +x thfonts.sh

Step 3. $ sudo ./thfonts.sh

เพียง สามขั้นตอนนี้เราก็จะได้ fonts ที่เคยใช้กันบน windows มาใช้งานบน linux แล้วครับ คราวนี้ก็ลองเปิดโปรแกรม Write ขึ้นมาทำงาน เราก็จะเห็น fonts ต่าง ๆ แสดงอยู่ใน list ลองดูนะครับ...

อ้างอิงจาก http://www.eng.ru.ac.th

หรือจะใช้วิธีการนี้

* copy ไฟล์ฟอนท์ที่ต้องการไปไว้ใน /usr/share/fonts/truetype/thai
* ใช้คำสั่ง fc-cache -fv เพื่อสร้างข้อมูล cache file ขึ้นมาใหม่ก็ใช้ได้เลย

ที่ สำคัญอย่าลืมคือเรื่องสิทธิ์การเขียนการอ่าน ทุกคำสั่งใช้ sudo นำหน้าเสมอ และถ้าคัดลอกฟอนท์วินโดว์มาต้องตรวจสอบก่อนว่าสิทธิ์ของไฟล์นั้นเป็นอย่างไร ตอนที่ผมลองทำดูตอนแรกไม่ผ่าน พอตรวจสอบจากคำสั่ง ls -l จะเห็นสิทธิ์เป็น 700 เลยต้องเปลี่ยนเป็น 644 ด้วยคำสั่ง chmod 644 *.TTF หลังจากใช้คำสั่ง fc-cache -fv ก็ใช้ได้เลย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘