ลินุกซ์

Linux
Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์
Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์
ตระกูลโอเอส แบบยูนิกซ์


ชนิดเคอร์เนล Monolithic kernel
ลิขสิทธิ์ เคอร์เนล: GPL
สถานะ ยังพัฒนาอยู่

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน

เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ

ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิม ต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft


ประวัติ

ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล
ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล

ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล

ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนา โครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar

ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว

โตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

การอ่านออกเสียง

หน้าจอคอมพิวเตอร์ของลินุกซ์ อูบุนตุ

ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินุส โตร์วัลดส์ผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /ɪ/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /ʊ/ ซึ่งคล้ายเสียง "อุ" ในภาษาไทย ในอินเทอร์เน็ตมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของโตร์วัลดส์ ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux"[1] เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง

แม้ว่าจะมีการออกเสียงในแบบต่าง ๆ มากมาย โตร์วัลดส์ก็เคยกล่าวไว้ว่า การอ่านออกเสียงถูกหรือผิดไม่สำคัญ เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร

การใช้งาน

การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท

ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย

เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน

ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก ขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่ง

เครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

ส่วนแบ่งการตลาด

ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำงาน ระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของลินุกซ์ ราคาที่ถูก และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

การติดตั้ง

รายการลินุกซ์ดิสทริบิวชัน (ดิสโทร) ทั้งหมด

การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง

การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูก กว่าเครื่องทั่วไป

การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์

ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่น ๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘